ตำแหน่งหน้าร้านกรอบรูป (หรือไม่มีก็ได้)

จุดที่เหมาะสำหรับเปิดร้านกรอบรูปนั้นควรเป็นจุดที่ ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ง่าย และ มีพื้นที่มากพอที่จะสามารถตั้งเครื่องมือทำกรอบรูปได้ และ สามารถโชว์ผลงานของทางร้านได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ตามคู่หาอาคารถนนคนเดิน ตามห้างสรรพสินค้า หรือ สถานที่จัดสรรไว้สำหรับขายของตกแต่งบ้าน นอกจากนี้แล้วอีกทางเลือกหนึ่งของร้านกรอบรูปสมัยนี้ได้คือ การเปิดร้านกรอบรูปออน์ไลน์ ซึ่งการเลือกที่จะเปิดร้านกรอบรูปออนไลน์นั้นจะลดบทบาทความจำเป็นในการเปิดหน้าร้านลง ซึ่งการคิดที่จะเปิดร้านกรอบรูปออนไลน์นั้นอาจจะมีข้อดี และ ข้อเสียที่แตกต่างการออกไป ซึ่งข้อดีของการเปิดร้านกรอบรูปออนไลน์นั้นคือ ประหยัดต้นทุนในการเช่าพื้นที่แสดงผลงานของทางร้าน แต่การไม่มีหน้าร้านนั้นอาจจะทำให้ขาดรายได้จากกลุ่มลูกค้าทั่วไปที่ หรือ กลุ่มนักช็อป นอกจากกลุ่มลูกค้าต้องการที่จะได้กรอบรูปจริงๆ ซึ่งการทำร้านกรอบรูปออนไลน์นั้นอาจจะต้อง พึ่งพา Social Media ต่างเช่น Facebook Page, Instagram, หรือ LINE OA ในการเผยแผร่ผลงานของทางร้าน

ค้นหาตัวตนของร้าน

หลายๆ คนอาจจะมองข้ามขั้นตอนนี้ในการวางแผนทำธุรกิจทำกรอบรูป แต่ผมอยากบอกว่าขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากๆ หากต้องการให้ลูกค้า วนกลับมาซื้อกับทางร้านเราอีกขึ้น เนื่องจากหากร้านกรอบรูปร้านไหนเด่น หรือ ร้านไหนที่มีกรอบรูปเอกลักษณ์เฉพาะตัวนั้นจะทำให้ลูกค้าของร้านนั้นจดจำ และ สามารถบอกต่อกับลูกค้าคนอื่นๆ ได้ และ เป็นการดึงดูดลูกค้าเฉพาะตัวอีกด้วย เนื่องจากหากร้านเรามีเอกลักษณ์สไตล์ของเราแล้ว และ มีการพัฒนาไปอย่างไม่หยุดหย่อนจะทำให้ร้านของคุณนั้นเด่นขึ้นมากว่าร้านอื่น และ ยังสามารถขายสินค้าได้ราคาอีกด้วย ซึ่งจะตัดปัญหาการแข่งที่ราคาได้

CC ร้านกรอบรูปสุจิตแกลลอรี่ อาร์ต แอนด์ เฟรม

ซึ่งทุกอย่างเริ่มจากการออกแบบกรอบรูปของทางร้านยังไงให้ดูดีดูเด่น และ สามารถเริ่มจากการจำลองกรอบรูป ออกมาให้เป็นรูปภาพ ซึ่งทำได้จากหลายๆ โปรแกมเช่น Photoshop หรือ ImageFramer

เลือกผู้จำหน่ายวัตถุดิบ

การเลือกคู่ค้าในการเปิดร้านกรอบรูปนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ หากเลือกผู้จำหน่ายที่ไม่สามารถตอบโจยท์ของร้านได้นั้น อาจจะทำให้ร้านกรอบรูปเรานั้นเสียหายได้ ก่อนอื่นเจ้าของร้านจำเป็นที่จะรู้วัตถุดิบในการผลิตกรอบรูป กรอบหนึ่งจำเป็นจะต้องใช้วัตถุดิบดังนี้

เครื่องมือทำกรอบรูป และ อุปกรณ์ทำกรอบรูป

เครื่องตัดไม้เส้นกรอบรูป สามารถใช้ได้ทั้ง เครื่องตัดไม้เส้นไฟฟ้าแบบสไลด์ (Single Mitre) เครื่องตัดไม้ไฟฟ้าสองหัว (Double Mitre) หรือ จะเป็นเครื่องตัดไม้ V-Cut (Morso) ซึ่งแต่ละแบบจะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน

   เครื่องตัดไม้ไฟ้ฟ้าสไลด์  เครื่องตัดไม้ไฟฟ้าสองหัว  เครื่องตัดไม้ V-Cut (Morso)
 รูปแบบ ไฟฟ้า 240V  ไฟฟ้า 240V  —
 วัสดุที่ตัดได้  ไม้เส้น Polystyrene/ไม้แท้/อลูมิเนียม  ไม้เส้น Polystyrene/ไม้แท้/อลูมิเนียม  ไม้แท้/ไม้เส้น Polystyrene*
 ตัดได้สูงสุด   80/85/100 mm  100 mm  100 mm
 หน้ากว้างใบเลื่อย  10/12 นิ้ว  12 นิ้ว  —
องศา 90˚/120˚/180˚ 90˚ 90˚

เครื่องเข้ามุมกรอบรูป ก็ถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่ร้านกรอบรูปควรมี เนื่องจากการใช่ปืนยิง V-Nail หรือกาวประสานนั้น อาจจะตอบโจทย์ในระยะสั้น เพราะว่ามีต้นทุนที่ต่ำกว่า แต่การใช้เครื่องเข้ามุมนั้นจะเป็นการฝังลูกยิง V-Nail เข้าไปในมุมกรอบรูปเพื่อที่จะยึดกรอบรูปเข้าด้วยกัน ซึ่งเครื่องเข้ามุมมีอยู่ 3 ประเภทหลักๆ ก็คือ เครื่องเข้ามุมเท้ากรอบรูปเหยียบ เครื่องเข้ามุมกรอบรูปแบบลม (Pneumatics) และ เครื่องเข้ามุมกรอบรูปอัตโนมัติ (แบบคอมพิวเตอร์) ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีข้อดี และ ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป

   เครื่องเข้ามุมเท้าเหยียบ  เครื่องเข้ามุมแบบลม  เครื่องเข้ามุมเท้าอัตโนมัติ
 รูปแบบ  ลม (3 – 5 Bar)  ไฟฟ้า 240V +  ลม (6 – 8 Bar)
 วัสดุที่เข้ามุมได้ ไม้เส้น Polystyrene/ไม้แท้ ไม้เส้น Polystyrene/ไม้แท้  ไม้เส้น Polystyrene/ไม้แท้
 รับรองหน้ากว้างไม้   6-80 mm  6-80 mm  0 – 150 mm
 รับรองลูกยิง  UNI/AL UNI/AL  UNI

ปืนยิงลิ่มหลัง ก็ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการทำกรอบรูป เพราะจำเป็นจะต้องยึดกระจก/กระดาษเมาส์/รูปภาพ/แผ่นฮาร์ดบอร์ด เข้ากับตัวเฟรมทำกรอบรูป โดยจะมีอยู่ 2 รูปแบบแบบใช้มือกด และ แบบลม โดยส่วนมากร้านจะนิยมการใช้ปืนยิงลิ่มหลังแบบลมเนื่องจาก ประหยัดแรง และ สามารถยิงลูกลิ่มได้ลึกกว่า

วัตถุดิบอื่นๆ เช่น กระดาษเมาส์ ลูกยิง V-Nail ลูกยิงลิ่มหลัง (ลูกลิ่มจิ้งจก) หูแขวน หูช้าง สลิง หสงปลา กาวประสาน แทปกาวย่น และ ฟิลม์เคลือบรูป ก็อาจจะเป็นส่วนประกอบที่อาจจะจำเป็นต้องใช้ในแต่ละงาน และ ตามความเหมาะสมของชิ้นงานนั้นๆ

ไม้เส้นทำกรอบรูป และ คิ้วอลูมิเนียม

ไม้เส้นกรอบรูป ถือว่าเป็นวัตถุดิบที่สำคัญ เนื่องจากไม้เส้นกรอบรูปจะเป็นลูกเล่นในการกำหนดตัวตนของร้านทำกรอบรูปของคุณได้ โดยไม้เส้นกรอบรูป ของกรอบรูปดอทคอมนั้นมีมากกว่า 277+ รายการ ซึ่งนำเข้าจากประเทศจีน และ ประเทศเกาหลี และ มีให้จำหน่ายหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสไตล์ โมเดริน์ วินเทจ ลายไทย ขอบฐานพระ และ อื่นๆ อีกมากมาย

สังเกตุคุณภาพไม้เส้นกรอบรูปอย่างไร

ไม้เส้นกรอบรูปในสมัยนี้นั้นจะถูกทำมาจาก เม็ดพลาสติก EPS หรือ Expandable Polystyrene ซึ่งจะผ่านกระบวนการหลอมละลาย และ ผสมกับการสารเติมแต่งพอลิเมอร์ เพื่อให้ได้เนื้อ Foam ที่ไม่แข็งจนเกินไป และ ไม่เปาะจนเกินไป ซึ่งขึ้นอยู่กับสูตรของแต่ละโรงงาน ซึ่งถ้าหากใส่สารเติมแต่งในประมาณที่มากเกินไปอาจจะทำให้ Foam Polystyrene มีการฟู่ที่มากเกินไป

ไม้เส้นกรอบรูป จะมีอยู่หลากหลายเกรด ซึ่งจะมีตั้งแต่เกรดคุณภาพโรงงาน เกรดร้านกรอบรูปทั่วไป และ เกรดพรีเมี่ยม

เกรดคุณภาพโรงงาน โรงงานทำกรอบรูปเนื่องจากเป็นผู้ผลิตและขายส่งกรอบรูปเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการควบคุมราคาตุ้นทุนราคาวัตถุดิบถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญ จึงทำให้หลายๆ ผู้ผลิตไม้เส้นกรอบรูป มีสูตรการผลิตสำหรับลูกค้าประเภทโรงงาน ซึ่งจะมีลักษณะจะมีการใช้ใส่สารพอลิเมอร์สูตรพิเศษ

เกรดมาตฐาน ซึ่งเป็นเกรดที่หลายๆ โรงงานผู้ผลิตไม้เส้นกรอบรูปเลือกใช้กันเนื่องจากเป็นสูตรที่มีความหนาแน่นของเม็ดพลาสติกในระดับปลานกลาง ซึ่งจะมีความแน่น และ ความเหนียวในเวลาเข้ามุมในระดับพอดี และ สามารถสังเกตุได้จากการพองตัวของเม็ดพลาสติกที่มีลักษณะที่กระจายอย่างทั่วถึงและละเอียด

เกรดพรีเมี่ยม ถือว่าเป็นเกรดที่มีความหนาแน่นสูงสุด ซึ่งเนื้อ Foam Polystyrene ที่มีลักษณะเนียนและมีเม็ดพลาสติกที่มีการพองตัวในระดับต่ำ จึงทำให้เนื้อนั้นมีลักษณะที่เหนียวและแข็งแรงในเวลาเข้ามุม แต่ก็จะมีราคาที่สูงขึ้นเช่นเดียวกัน

โดยกรอบรูปดอทคอมจะจำหน่ายทั้ง เกรดมาตฐาน และ พรีเมี่ยมในบางรายการเป็นหลัก แต่ก็สามารถรับผลิตไม้เส้นกรอบรูปในเกรดโรงงานได้ตามออร์เดอร์

สีของเนื้อไม้ส่งผลต่อคุณภาพเนื้อไม้อย่างไร

เนิ้อไม้แต่ละเนื้อสามารถแต่งสีได้ โดยไม่ได้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของเนื้อไม้แต่อย่างไร ซึ่งสีของเนื้อไม้ส่วนใหญ่นั้นจะแต่งตามสีของฟอลย์ เพื่อให้ในเวลาเข้ามุมนั้นมีลักษณะที่เนียนมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามหลายๆ ร้านอาจจะมีความเชื่อว่าเนื้อไม้ที่มีสีดำ หรือ ออกไปทางมืดๆ คือเกิดจากการใช้เม็ดพลาสติก Recycle สูงซึ่งจะทำให้เนื้อไม้เปาะ ซึ่งในความเป็นจริงนั้นเม็ดพลาสติกส่วนมากเกิดจากการ Recycle ทั้งสิ้นแต่ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกที่สามารถนำสระสารตกค้าง หรือ สิ่งเจือปนออกจากการผลิตเม็ดพลาสติกได้ในระดับใดต่างหาก นอกจากนี้การใช้เม็ดพลาสติกที่ถูก Recycle หลายๆ ครั้งอาจจะทำให้คุณลักษณะของเม็ดพลาสติกนั้นน้อยลง ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละโรงงานในการตรวจสอบเม็ดพลาสติกก่อนนำไปฉีดไม้เส้นกรอบรูป

เพราะฉนั้นหากต้องการสังเกตุเรื่องคุณภาพของเนื้อไม้เส้นกรอบรูป ทางร้านจึงนิยมที่จะสังเกตุจาก การพองตัวของเม็ดพลาสติก มากกว่าการให้ความสำคัญของสีของเนื้อไม้

วิธีการคำนวนต้นทุนในการทำกรอบรูป

การคำนวนราคาถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าหากร้านกรอบรูป ร้านใดให้ความสำคัญเกี่ยวกับการแข่งขันที่ราคา โดยการคำนวนค่าวัตถุดิบในการทำกรอบรูป

การคำนวนจำนวนไม้เส้นที่ต้องใช้ สามารถคำนวนจากขนาดรูป (ไซส์ใน) เพื่อที่จะคำนวนจำนวนไม้เส้นกรอบรูปได้ หรือ ความยาวที่ต้องใช้ ซึ่งจะต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้ ความสูงขนาดใน (cm) ความกว้างขนาดใน (cm) และ หน้าไม้ (cm)

ซึ่งจะใช้หลักในทางเรขาคณิตในการช่วยคำนวน โดยเฉพาะการใช้วิธีการคำนวนตามหลักสามเหลี่ยมมุมฉาก (Right Triangle 45-45-90 Identities)

เพราะฉนั้นสูตรที่จะได้รับก็คือให้นำ ความกว้าง ความสูง และ หน้าไม้รวมกัน

2*ความกว้าง + 2*ความสูง + 8*หน้ากว้างไม้ = ความยาวไม้เส้นที่ต้องใช้ (cm)

และถ้าหากต้องการเพื่อไม้ที่ต้องถูกใบเลื่อยเจียร์ไป ก็สามารถเพิ่มได้ อีกด้านละ 0.5 cm หรือ

2*ความกว้าง + 2*ความสูง + 8*(หน้ากว้างไม้  + 0.5)= ความยาวไม้เส้นที่ต้องใช้ (cm)

ซึ่งพอเราได้ความยาวนี้แล้ว เราสามารถนำมาคำนวนจำนวนไม้เส้นที่ต้องใช้ได้ โดยการหารกับความยาวของไม้เส้น เช่นถ้าเรามีไม้เส้นยาว 290 cm หรือ 9.51 ฟุต

ความยาวไม้เส้นที่ต้องใช้ (cm) / 290 = จำนวนเส้น

ซึ่งถ้าหากมีเศษจุดทศนิยมให้ทำการปรับเศษขึ้น ซึ่งเราก็จะได้เจำนวนเส้นที่ต้องการใช้ในการผลิตกรอบรูปตามขนาดที่เราต้องการ

การคำนวนวัสดุจำพวกแผ่น เช่น กระจก ฝาหลัง และ กระดาษเมาส์ หากได้ทำการสั่งซื้อฝาหลังขนาดสำเร็จรูป ก็สามารถยึดราคาที่สั่งซื้อมาเป็นหลักในการคำนวนได้เลย แต่ถ้าหากสั่งซื้อมาเป็นแผ่นขนาดใหญ่ ซึ่งอาจจะจำเป็นต้องตัดให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ ก็อาจจะจำเป็นที่จะต้องอาศัยในการคำนวนราคาต้นทุน โดยใช้การคิดแบบ (ตารางเซนติเมตร) 

การคำนวนต้นทุนต่อตารางเซนติเมตร

เพื่อคำนวนต้นทุนแผ่นไม้ที่ต้องการจะใช้งาน สามารถคำนวนผ่านสูตรดังต่อไปนี้

(กว้างที่ต้องการ ซม. x สูงที่ต้องการ ซม.)/(กว้างของแผ่นเต็ม ซม. x สูงของแผ่นเต็ม ซม.) x ราคาแผ่นใหญ่ = ต้นทุน

ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการตัดแผ่นฝาหลังในขนาด 10 x 15 ซม. จากแผ่น 122 x 244 ซม.  ก็สามารถคำนวนได้ตามสูตรนี้

(10 x 15)/(122 x 244) * 100 บาทต่อแผ่นใหญ่ = 0.538 บาทต่อขนาด 10 x 15 ซม.

ซึ่งเราสามารถที่จะใช้สูตรเดี่ยวกันนี้ในการคำนวณต้นทุนของวัสดุอื่นๆได้ เช่นกระจก และ กระดาษเมาส์เป็นต้น

การคำนวนวัสดุสิ้นเปลือง วัสดุสิ้นเปลืองเช่น เทปกาวย่น ลูกยิงมุมกรอบรูป ลิ่มจิ้งจก และ วัสดุอื่นจำเป็นจะต้องใข้ในการประกรอบรูป ก็เป็นต้นทุนอีกอย่าง ที่ร้านกรอบรูปจะต้องคำนวน ซึ่งขึ้นกับความต้องการของลูกค้า

เริ่มรับงานการทำกรอบรูป

พอเราสามารถที่จะคำนวนต้นทุนได้เองแล้ว เราก็สามารถที่จะเริ่มรับงานจากลูกค้าได้ ซึ่งสิ่งที่ร้านกรอบรูปทำได้มีอยู่ 2 ประเภททำกรอบรูปไว้เป็นตัวอย่างเพื่อที่จะโชว์ อยู่ในร้านซึ่งร้านสามารถที่จะติดป้ายราคาเอาไว้ หากลูกค้าคนไหนต้องการก็สามารถที่จะแจ้งราคาให้ลูกค้าทราบได้เลยทันที แต่ถ้าหากเป็นงานที่สั่งทำ เราก็อาจจะต้องคำนวนต้นทุนกันใหม่ ซึ่งจำเป็นจะต้องเก็บรายละเอียดไว้ให้ได้อย่างครบถ้วน เช่น

  1. ขนาดของรูปภาพที่นำมาใส่กรอบ
  2. ทำกรอบกี่ชิ้น
  3. ลายไม้เส้นกรอบรูป ใส่กี่ลาย ซ้อนกันหรือไม่
  4. ใส่กระดาษเมาส์ด้วยหรือเปล่า
  5. ประเภทของกระจก กระจกใส กระจกตัดแสง หรือ กระจกอคิริค
  6. ประเภทของฝาหลัง 2 มม/3 มม/5 มม
  7. วิธีการแขวนเช่น หูช้าง สลิง หรือ หูแขวนปกติ
  8. จัดส่งที่ไหน มารับเองหรือไม่

ซึ่งควรจะเป็นคำถามที่เราควรถามลูกค้าก่อนรับงานเสมอ เพื่อให้เรานั้นสามารถประเมินราคาได้อย่างครบถ้วน และ ตกลงทำในสเปคที่ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกินการผิดใจกันในภายหลัง

ทั้งหมดนนี้จะเป็นเรื่องราวทั้งหมดที่ร้านกรอบรูปควรรู้ และ ถ้าหากใครชอบบทความแบบนี้สามารถที่จะติดตาม โปรโมชั่น และ ข่าวสารที่มีสาระได้ผ่านทางเว็บไซต์ หรือ  Facebook Page หรือ LINE OFFICIAL ของกรอบรูปดอทคอมได้เลย